กระเช้านกเล็ก
ชื่อพฤกษศาสตร์: Aristolochia kerrii Craib
วงศ์ : ARISTOLOCHIACEAE
ไม้เถาขนาดเล็ก ลำต้น เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่แกมรูปหอกค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีขนนุ่ม เส้นใบ 5 เส้น ออกจากฐานใบ เส้นใบย่อยเป็นร่างแหชัดเจน ดอก ออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ 1-2 ดอก โคนเป็นกระเปาะ ปลายแผ่แบนและงอออกเป็นจงอย ด้านนอกสีม่วงเข้ม ด้านในสีครีม ผล รูปไข่ เมื่อแก่แตกเป็นรูปคล้ายกระเช้า เมล็ดขนาดเล็ก รูปไข่กลับ แบน ไม่มีปีก
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ขึ้นตามป่าละเมาะและชายป่าดิบที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ที่ระดับความสูง 500-1,370 เมตร ออกดอกเดือนมิถุนายน - กรกฏาคม ติดผลเดือน สิงหาคม - กันยายน
สมุนไพรไทย
วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554
กาญจณิการ์
กาญจณิการ์
ชื่อพฤกษศาสตร์: Santisukia pagetii (Craib) Brummitt
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : แคขาว ลั่นทมเขา
ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแผ่กว้าง แน่นทึบ ใบ ประกอบแบบขนนกชั้นดียวปลายคี่ เรียงเป็นวงรอบกิ่ง ใบย่อย 5-10 คู่ รูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบส่วนบนมักจะมีรอยจักตื้นๆ ดอก ใหญ่ จำนวนมาก ออกเป็นช่อยาวแตกแขนง แขนงช่อดอกแตกเป็นวงรอบแกนช่อ กลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ส่วนบนแยกเป็น 5 แฉกสั้นๆ ภายนอกมีตุ่มทั่วไป กลีบดอกติดกันคล้ายรูปแตร ปลายผายออกเป็น 5 กลีบ สีขาว หรือ สีขาวปนม่วงอ่อน ปากหลอดสีเหลืองอ่อน ผลเป็นฝักแห้งรูปทรงกระบอก ปลายและโคนรี ผนังมีตุ่มกระจัดกระจายทั่วไป เมล็ด จำนวนมาก กลมแบน มีปีกบางโปร่งทางด้านข้างทั้งสองด้าน
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : พบเฉพาะภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย ตั้งแต่จังหวัดอุทัยธานีลงมาถึงเพชรบุรี ขึ้นทั่วไปในป่าผลัดใบ ตามซอกหินของภูเขาหินปูนที่แห้งแล้ง ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Santisukia pagetii (Craib) Brummitt
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : แคขาว ลั่นทมเขา
ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแผ่กว้าง แน่นทึบ ใบ ประกอบแบบขนนกชั้นดียวปลายคี่ เรียงเป็นวงรอบกิ่ง ใบย่อย 5-10 คู่ รูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบส่วนบนมักจะมีรอยจักตื้นๆ ดอก ใหญ่ จำนวนมาก ออกเป็นช่อยาวแตกแขนง แขนงช่อดอกแตกเป็นวงรอบแกนช่อ กลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ส่วนบนแยกเป็น 5 แฉกสั้นๆ ภายนอกมีตุ่มทั่วไป กลีบดอกติดกันคล้ายรูปแตร ปลายผายออกเป็น 5 กลีบ สีขาว หรือ สีขาวปนม่วงอ่อน ปากหลอดสีเหลืองอ่อน ผลเป็นฝักแห้งรูปทรงกระบอก ปลายและโคนรี ผนังมีตุ่มกระจัดกระจายทั่วไป เมล็ด จำนวนมาก กลมแบน มีปีกบางโปร่งทางด้านข้างทั้งสองด้าน
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : พบเฉพาะภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย ตั้งแต่จังหวัดอุทัยธานีลงมาถึงเพชรบุรี ขึ้นทั่วไปในป่าผลัดใบ ตามซอกหินของภูเขาหินปูนที่แห้งแล้ง ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554
กุหลาบพันปี
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhododendron arboreum Smith ssp. delavayi (Franchet) Chamberlain
วงศ์ : ERICACEAE
ชื่ออื่น : คำแดง
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กกึ่งพุ่ม สูง 3-10 เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปใบหอกกลับ หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายแหลม โคนสอบหรือตัด เนื้อใบหนา หลังใบมีเกล็ดและขนปกคลุม ดอกสีเหลืองแดงเลือดนก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก มีขน กลีบดอกติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกกลม มีขน ผล รูปทรงกระบอก เมื่อแก่แตกได้
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : พบเฉพาะในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ต่างประเทศพบที่เนปาล ภูฏาน พม่าและจีนภาคใต้ (ยูนาน) ขึ้นบนที่ชุ่มชื้นตามชายป่าติดเขา ที่ระดับความสูง 2,100-2,500 เมตร ออกดอกเดือนมกราคม - พฤษภาคม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhododendron arboreum Smith ssp. delavayi (Franchet) Chamberlain
วงศ์ : ERICACEAE
ชื่ออื่น : คำแดง
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กกึ่งพุ่ม สูง 3-10 เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปใบหอกกลับ หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายแหลม โคนสอบหรือตัด เนื้อใบหนา หลังใบมีเกล็ดและขนปกคลุม ดอกสีเหลืองแดงเลือดนก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก มีขน กลีบดอกติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกกลม มีขน ผล รูปทรงกระบอก เมื่อแก่แตกได้
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : พบเฉพาะในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ต่างประเทศพบที่เนปาล ภูฏาน พม่าและจีนภาคใต้ (ยูนาน) ขึ้นบนที่ชุ่มชื้นตามชายป่าติดเขา ที่ระดับความสูง 2,100-2,500 เมตร ออกดอกเดือนมกราคม - พฤษภาคม
วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554
กะโมกเขา
กะโมกเขา
ชื่อพฤกษศาสตร์: Sageraea elliptica (A.DC.) Hook.f. & Thomson
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : ลาโมก
ไม้ต้น สูง 15-20 เมตร เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ เปลอืกต้นสีเทาอ่อน ใบเดี่ยว แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายใบมนถึงเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก เล็ก สีเหลืองอมเขียว ออกเดี่ยว หรือเป็นกระจุก 2-6 ดอก ตามกิ่งหรือลำต้น ผล ออกเป็นกลุ่มๆ ละ 6-7 ผล รูปกลมรี ก้านผลสั้น
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ต่างประเทศพบที่ กัมพูชา ขึ้นในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 50-600 เมตร ออกดอกเดือนมกราคม - พฤษภาคม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Sageraea elliptica (A.DC.) Hook.f. & Thomson
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : ลาโมก
ไม้ต้น สูง 15-20 เมตร เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ เปลอืกต้นสีเทาอ่อน ใบเดี่ยว แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายใบมนถึงเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก เล็ก สีเหลืองอมเขียว ออกเดี่ยว หรือเป็นกระจุก 2-6 ดอก ตามกิ่งหรือลำต้น ผล ออกเป็นกลุ่มๆ ละ 6-7 ผล รูปกลมรี ก้านผลสั้น
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ต่างประเทศพบที่ กัมพูชา ขึ้นในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 50-600 เมตร ออกดอกเดือนมกราคม - พฤษภาคม
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
กุหลาบขาวเชียงดา
กุหลาบขาวเชียงดาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhododendron ludwigianum Hoss.
วงศ์ : ERICACEAE
ชื่ออื่น : คำขาวเชียงดาว กุหลาบขาว
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอ แตกกิ่งระเกะระกะจากโคต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนมน ขอบเรียบ ผิวใบเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกติดกันคล้ายรูประฆัง สีขาวนวล ปลายแยกเป็น 5 กลีบ โคนกลีบด้านในมีแต้มสีเหลือง ผล แห้ง รูปกระสวยปลายมน เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบน ขนาดเล็กมาก มีปีกบางใส
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : พบเฉพาะที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บนที่โล่ง ตามซอกหินของภูเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 1,800-2,200 เมตร ออกดอกเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhododendron ludwigianum Hoss.
วงศ์ : ERICACEAE
ชื่ออื่น : คำขาวเชียงดาว กุหลาบขาว
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอ แตกกิ่งระเกะระกะจากโคต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนมน ขอบเรียบ ผิวใบเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกติดกันคล้ายรูประฆัง สีขาวนวล ปลายแยกเป็น 5 กลีบ โคนกลีบด้านในมีแต้มสีเหลือง ผล แห้ง รูปกระสวยปลายมน เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบน ขนาดเล็กมาก มีปีกบางใส
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : พบเฉพาะที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บนที่โล่ง ตามซอกหินของภูเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 1,800-2,200 เมตร ออกดอกเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
กุหลาบขาว
กุหลาบขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhododendron lyi Levl.
วงศ์ : ERICACEAE
ชื่ออื่น : ดอกสามสี ไม
ไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนและเกล็ดสีน้ำตาล ใบเดี่ยง เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายแหลม มีติ่ง โคนสอบ ด้านหลังมีเกล็ดสีน้ำตาล ดอก สีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูปแตร ปลายแยกเป็นกลีบกลม ขอบเป็นคลื่นด้านนอกมีเกล็ดปกคลุมทั่วไป ด้านในมีจุดประสีเหลือง ผล รูปรี ผิวขรุขระ เมื่อแก่แตกได้ เมล็ด จำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกบาง
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ต่างประเทศพบที่ลาวและเวียตนาม ขอบขึ้นตามภูเขาหินทราย ในที่โล่งแจ้งตามโขดหินหรือซอกหิน ที่ระดับความสูง 1,000-1,600 เมตร มักขึ้นรวมเป็นกลุ่มใหญ่ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhododendron lyi Levl.
วงศ์ : ERICACEAE
ชื่ออื่น : ดอกสามสี ไม
ไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนและเกล็ดสีน้ำตาล ใบเดี่ยง เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายแหลม มีติ่ง โคนสอบ ด้านหลังมีเกล็ดสีน้ำตาล ดอก สีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูปแตร ปลายแยกเป็นกลีบกลม ขอบเป็นคลื่นด้านนอกมีเกล็ดปกคลุมทั่วไป ด้านในมีจุดประสีเหลือง ผล รูปรี ผิวขรุขระ เมื่อแก่แตกได้ เมล็ด จำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกบาง
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ต่างประเทศพบที่ลาวและเวียตนาม ขอบขึ้นตามภูเขาหินทราย ในที่โล่งแจ้งตามโขดหินหรือซอกหิน ที่ระดับความสูง 1,000-1,600 เมตร มักขึ้นรวมเป็นกลุ่มใหญ่ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
กุหลาบแดง
กุหลาบแดง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhododendron simsii Planch.
วงศ์ : ERICACEAE
ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ลำต้นและกิ่ง มีขนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี รูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบแคบ มีขนสีน้ำตาล ดอก สีแดงอมส้ม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็กโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนสีขาวหรือแดง กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูปแตร ภายในมีจุดประสีแดงเข้ม ปลายแยกเป็นแฉกค่อนข้างกลม ผล รูปไข่ มีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่แตกได้ เมล็ด จำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกบาน
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ต่างประเทศพบที่ลาวและเวียตนาม ชอบขึ้นเป็นกลุ่มๆ บนภูเขาหินทราย ใกล้ลำธารชายป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000 - 1,600 เมตร ออกดอกเดือนมกราคม - เมษายน
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhododendron simsii Planch.
วงศ์ : ERICACEAE
ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ลำต้นและกิ่ง มีขนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี รูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบแคบ มีขนสีน้ำตาล ดอก สีแดงอมส้ม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็กโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนสีขาวหรือแดง กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูปแตร ภายในมีจุดประสีแดงเข้ม ปลายแยกเป็นแฉกค่อนข้างกลม ผล รูปไข่ มีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่แตกได้ เมล็ด จำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกบาน
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ต่างประเทศพบที่ลาวและเวียตนาม ชอบขึ้นเป็นกลุ่มๆ บนภูเขาหินทราย ใกล้ลำธารชายป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000 - 1,600 เมตร ออกดอกเดือนมกราคม - เมษายน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)